News

ttb analytics คาดคบาทสิ้นปี 66 ที่ระดับ 36.5 รับอานิสงส์จากภาคท่องเที่ยวฟื้นเร็ว

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทยธนชาต (ttb analytics) ระบุจากการที่ค่าเงินบาทอยู่ในทิศทางอ่อนค่ามาตั้งแต่ต้นปี 2565 อ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 16 ปี โดยอยู่ที่ 38.31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หรืออ่อนค่าลงกว่า 14% โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นมากจากการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของไทย อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาเริ่มเห็นสัญญาณเงินบาทแข็งค่าขึ้น โดยล่าสุดอยู่ที่ 36.85 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จากการที่ภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวได้เร็ว หนุนดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มปรับดีขึ้นในปีหน้า ทำให้ ณ สิ้นปี 2566 เงินบาทมีแนวโน้มแข็งขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ระดับ 36.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2565 เงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางอ่อนค่า จากการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยยังคงปรับอย่างค่อยเป็นค่อยไป นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยยังอยู่ในระยะแรกของการฟื้นตัวของภาคบริการ ประกอบกับสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ทำให้ราคาพลังงานปรับสูงขึ้นจนทำให้ประเทศที่พึ่งพาการนำเข้าน้ำมันอย่างไทยเผชิญกับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด จากทั้ง 2 ปัจจัย ส่งผลให้ค่าเงินบาทในช่วงที่ผ่านมาเคลื่อนไหวในทิศทางอ่อนค่าต่อเนื่อง แม้ด้านเงินทุนเคลื่อนย้าย จะยังไม่พบสัญญาณที่ผิดปกติ โดยนับตั้งแต่ต้นปี จนถึงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 นักลงทุนเว็บหวยออนไลน์ ถูกกฎหมาย บาทละ 1000 เชื่อถือได้ต่างชาติยังมีฐานะเป็นการซื้อสุทธิในสินทรัพย์ไทยประมาณ 1.1 แสนล้านบาท โดยเป็นการซื้อสุทธิในตลาดหลักทรัพย์กว่า 1.6 แสนล้านบาทและขายสุทธิในตลาดพันธบัตรที่ 0.5 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ เงินบาทที่อ่อนค่าลงส่งผลดีต่อผู้ส่งออก โดยจะได้รายรับจากการส่งออกสินค้าและบริการมากขึ้นเมื่อคำนวณกลับมาในสกุลเงินบาท แต่อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลจาก Trade in Value Added ของ OECD ปี 2018 พบว่า สินค้าส่งออกจากไทยมีสัดส่วนสินค้านำเข้า (Import Content) สูงถึง 34.6% จึงทำให้การส่งออกของไทยไม่ได้รับประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่ามากเท่าที่ควร เนื่องจากต้องหักผลกระทบและต้นทุนที่สูงขึ้นของการนำเข้าออก

ขณะเดียวกัน อีกหนึ่งกลุ่มที่ได้รับอานิสงส์จากเงินบาทอ่อน คือ นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาเที่ยวในเมืองไทยที่จะมีกำลังซื้อมากขึ้น หนุนให้ภาคการท่องเที่ยวให้ขยายตัวรวดเร็ว และเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่น่าสนใจ โดยคาดจำนวนนักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นเป็น 18.5 ล้านคนในปี 2566 จาก 9.5 ล้านคนในปี 2565 นี้

สำหรับระยะต่อไป คาดว่าเงินบาทจะไม่อ่อนค่าลงมาก แม้ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง โดย ttb analytics มองว่าค่าเงินบาท ณ สิ้นปี 2566 จะอยู่ที่ 36.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่จะทำให้การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดปรับดีขึ้น ขณะที่การปรับดอกเบี้ยของเฟดมีแนวโน้มสูงสุดที่ 4.75% ในช่วงกลางปี 2566 และอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะขยับขึ้นไปที่ระดับ 2%

อย่างไรก็ดี ในช่วงที่มีความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ผู้ที่ความเกี่ยวข้องกับค่าเงิน ไม่ว่าจะเป็นผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ผู้ลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศ หรือผู้ที่มีหนี้ในสกุลเงินต่างประเทศควรติดตามข้อมูลข่าวสารด้านเศรษฐกิจการเงินอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ ยังควรศึกษาและใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนอย่างเหมาะสม เพื่อลดความผันผวนและความเสี่ยงในช่วงที่ตลาดการเงินยังมีความไม่แน่นอนอยู่มาก

You may also like...