News

โอมิครอนพ่นพิษเศรษฐกิจ ลามตลาดหุ้นทั่วโลกฉุดดัชนีทรุด

ดัชนีหุ้นทั่วโลกร่วง รับข่าวการระบาดโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ “โอมิครอน” แถมเฟดจะยุติ QE เร็วกว่าคาด กดดันให้นักลงทุนถอยเพื่อรอดูสถานการณ์ คาดแต่ละประเทศคงต้องใช้นโยบายเชิงป้องกันด้วยการจำกัดการเดินทางเข้าและออกประเทศอย่างเข้มงวด หวั่นรัฐล็อกดาวน์อีกรอบ และแต่ละประเทศมีข้อจำกัดการกระตุ้นเศรษฐกิจ โบรกฯ เชื่อตลาดหุ้นไทยผันผวน อาจจะไม่ติดลบมาก รอความชัดเจนวัคซีนอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์

หลังจากไวรัสโควิด-19 ระบาดหนัก ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นดิ่งลงเรื่อยมา แต่เมื่อมีมาตรการต่างๆ ของรัฐออกมาสกัดกั้นการแพร่ระบาดด้วยการล็อกดาวน์เมื่อทุกอย่างดีขึ้น ภาวะตลาดหุ้นกระเตื้องขึ้นมา แต่เมื่อมีสายพันธุ์เดลตาเพิ่มมาอีก ก็ฉุดดัชนีหุ้นไทยดิ่งไปตามระเบียบ ทว่าสุดท้ายค่อยๆ ดีขึ้น อีกทั้งประชาชนได้รับวัคซีนแทบจะครบถ้วน รัฐปลดล็อกมาตรการและเมื่อทุกอย่างคลี่คลายลงมาก การเปิดประเทศเกิดขึ้นและการขับเคลื่อนทางธุรกิจเริ่มกลับมา ดัชนีตลาดหุ้นไทยค่อยๆ ขยับขึ้น ทำให้โบรกเกอร์หลายแห่งต่างพากันปรับเป้าดัชนีกันหลายคำรบ

ทว่า จนแล้วจนรอดข่าวร้ายใหม่ของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ส่งผลต่อตลาดซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมายมั่นใจได้หุ้นทั่วโลก ดัชนีทุกตลาดดิ่งไปตามกัน ไม่เว้นแม้แต่ตลาดหุ้นไทย ดังนั้น ตลาดหุ้นไทยไม่อาจตีฝ่าแนวต้านระดับ 1,650 จุดไปได้ เพราะมีปัจจัยแทรกซ้อนเข้ามาทุกครั้ง ซึ่งรอบนี้เจอข่าวร้ายชิ้นใหม่ เพราะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ ทำให้นักลงทุนทั่วโลกตื่นตระหนก และพากันเทขายหุ้นในลักษณะหนีตาย ซึ่งวันศุกร์ที่ 26 พ.ย.ที่ผ่านมา กลายเป็นเหตุการณ์แบล็กฟรายเดย์ โดยตลาดหุ้นทั้งโลกดิ่งลงอย่างรุนแรง เริ่มตั้งแต่ดัชนีดาวโจนส์ล่วงหน้า ตามด้วยตลาดหุ้นย่านเอเชีย ไล่ไปตลาดหุ้นยุโรป และจบลงที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ทรุดลง 905 จุด

ตลาดหุ้นไทยติดร่างแหไปด้วย นักลงทุนเทขายหุ้นตั้งแต่เปิดการซื้อขาย จนดัชนีหุ้นปักหัวลง ก่อนปิดที่ 1,610.61 จุด ลดลง 37.85 จุด โดยต่างชาติขายสุทธิ 6,091.21 ล้านบาท กองทุนและพอร์ตโบรกเกอร์ขายรายละกว่า 3 ล้านบาท มีเพียงนักลงทุนรายย่อยที่ช้อนซื้อกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท ไวรัส “โควิด” สายพันธุ์ใหม่ที่ค้นพบการแพร่ระบาดในแอฟริกา ซึ่งองค์การอนามัยโลกตั้งชื่อ “โอมิครอน” เป็นตัวจุดชนวนสร้างความปั่นป่วนในตลาดหุ้นทั่วโลก และไม่อาจประเมินได้ว่าหุ้นที่ทรุดหนักเมื่อวันศุกร์ได้ซึมซับข่าวไปหมดหรือยัง

ช่วงโค้งสุดท้ายของตลาดหุ้นไทย ก่อนหน้านี้โบรกเกอร์แทบทุกสำนักทำนายว่า ตลาดหุ้นจะกระเตื้องขึ้น และมีแรงหนุนจากเงินทุนต่างชาติที่จะไหลกลับเข้ามา จนโบรกเกอร์บางสำนักปรับประมาณการเป้าหมายดัชนีหุ้นปลายปีนี้จากระดับ 1,650 จุด เป็น 1,670 จุด แต่ปรากฏว่า ต่างชาติยังไม่กลับมา ขณะที่ตลาดหุ้นเกิดความผันผวน และดูเหมือนว่า เป้าหมายดัชนีหุ้น 1,650 จุด จะห่างไกลออกไปทุกที โดยในระยะสั้นไม่มีใครแน่ใจว่าจะหลุด 1,600 จุดหรือไม่

ก่อนหน้านั้น หุ้นแต่ละกลุ่มผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันขึ้น และเริ่มสร้างฐานราคาใหม่ หลายตัวอยู่ระหว่างการทำลายสถิติราคาสูงสุด แต่ข่าว “โควิด” สายพันธุ์โอมิครอน ทำให้กระดานหุ้นแดงฉาน หุ้นขนาดใหญ่ปักหัวลงหมด หุ้นกลุ่มท่องเที่ยวก็ถูกถล่ม เพราะไวรัส “โคมิครอน” ที่พบการติดเชื้อในหลายประเทศ ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวโดยตรง โดยเฉพาะประเทศไทยที่เพิ่งเปิดรับนักท่องเที่ยว และหวังว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ความหวังกำลังพังทลาย

ถ้าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ลุกลาม ตลาดหุ้นจะตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่น่าไว้วางใจ ดัชนีหุ้นมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสู่ช่วงขาลงอีกครั้ง และโบรกเกอร์อาจต้องปรับมุมมองการลงทุนในช่วงโค้งสุดท้ายใหม่ เพราะมีตัวแปรใหม่เข้ามากระทบความเชื่อมั่น ซึ่ง นักลงทุนควรจะชะลอการตัดสินใจเพื่อรอดูเหตุการณ์

“โควิด” สายพันธุ์โอมิครอนกลายเป็นปัจจัยซ้ำเติมตลาดหุ้นที่เพิ่งจะเริ่มฟื้นจากวิกฤต และไม่รู้ว่า** จะฉุดดัชนีให้ลงไปลึกขนาดไหน** ดังนั้น โค้งสุดท้ายตลาดหุ้นไทยปีนี้ คงไม่สดใสเสียแล้ว นักลงทุนจึงต้องรักษาเนื้อรักษาตัวให้ดี และอย่ารีบช้อนหุ้น จนกว่าสถานการณ์จะนิ่ง

ตลาดหุ้นผันผวน-ถูกหลายปัจจัยกดดัน

บล.เอเซียพลัส มองสำหรับสัปดาห์นี้ตลาดหุ้นไทยรับผลจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่โอมิครอน ซึ่งปรับตัวลงติดต่อกัน 3 วันเกือบ 80 จุด หรือราว 5% สะท้อนความกังวลเรื่องโอมิครอนไปแล้วค่อนข้างมาก ขณะที่ล่าสุดผู้ก่อตั้ง BioNTech ระบุว่าวัคซีนปัจจุบันน่าจะยังสามารถป้องกันการป่วยรุนแรงได้ อย่างไรก็ตาม ประเด็นกดดันเพิ่มเติมมาจากประธาน FED ที่ระบุว่าเงินเฟ้อจะไม่ใช่ปัจจัยชั่วคราวและ FED จะประชุมเดือน ธ.ค. เพื่อสรุปการเร่งลด QE ให้เร็วกว่าแผนเดิมที่ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน ซึ่งจะทำให้ QE คาดถูกยุติลดลงในช่วงใบไม้ผลิ ทำให้โอกาสขึ้นดอกเบี้ยในครึ่งหลังปี 65 ค่อนข้างแน่นอน

ขณะที่ในส่วนของตลาดหุ้นไทยยังให้น้ำหนักกับการแพร่ระบาดของโอมิครอนมากกว่า หากไม่ระบาดเป็นวงกว้าง หรือวัคซีนที่ยังเพียงพอป้องกันป่วยหนักและรอวัคซีนอัพปเดตได้ในช่วง 3 เดือนข้างหน้า ดังนั้น ยังให้น้ำหนักเชิงบวกกับเศรษฐกิจถึง Domestic และ Reopening Play ที่จะทยอยฟื้นตัวระยะยาว แต่จากปัจจุบันที่ยังไม่มีความชัดเจนระยะสั้น บล.เอเซียพลัส จึงเน้นเลือกลงทุนในหุ้นที่ได้รับผลกระทบจำกัดอย่างการแพทย์ ส่งออก โลจิสตกิส์ เทคโนโลยี แนะนำให้สะสมบริเวณ 1,590-1,600 จุด แนะนำถือต่อเนื่อง และมองกรอบ 1,550-1,570 จุด ปัจจุบันเป็นระดับที่น่าสนใจในการสะสมเพิ่ม

นายมงคล พ่วงเภตรา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนหลักทรัพย์ บล.เคทีบีเอสที กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยคาดว่าจะผันผวน แต่อิงไปทางแดนลบ เนื่องจากคาดว่านักลงทุนยังคงจะขายหุ้นไทยจากความไม่มั่นใจเกี่ยวกับไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอน และ นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ส่งสัญญาณยุติโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) เร็วกว่าที่คาดไว้ด้วย ทำให้นักลงทุนคงจะเลือกที่จะถอยออกมาก่อน ขณะที่ราคาน้ำมันในช่วงนี้ได้ปรับตัวขึ้น แต่เชื่อว่าคนยังเลือกที่จะขายอยู่ดี แต่ตลาดอาจจะไม่ติดลบมาก ซึ่งในระหว่างเทรดมีโอกาสที่จะรีบาวนด์ได้ เนื่องจากเช้านี้ดาวโจนส์ฟิวเจอร์สได้ปรับตัวขึ้น ส่งผลให้ตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้เคลื่อนไหวในแดนบวกกัน ดังนั้น ให้ติดตามดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือน พ.ย.ของจีน และสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน รวมถึงติดตามการประชุมกลุ่มโอเปกพลัสในวันที่ 2 ธ.ค.นี้ แต่คิดว่าไม่น่าจะมีอะไรมาก เพราะดีมานด์น้ำมันได้เริ่มถอยลงมาแล้ว

นายณัฐพล คำถาเครือ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยพลิกกลับมาปิดร่วงลงตามตลาดหุ้นทั่วโลก โดยตลาดในยุโรปเทรดติดลบ เช่นเดียวกับดาวโจนส์ฟิวเจอร์สที่ปรับตัวลง หลังจากประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท โมเดอร์นา อิงค์ ระบุว่าประสิทธิภาพของวัคซีนโมเดอร์นาอาจลดลงเมื่อเจอสายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งต้องรอวัคซีนตัวใหม่อีก 2-3 เดือน ทำให้มองว่าสถานการณ์อาจรุนแรงขึ้นจนถึงขั้นกลับไปล็อกดาวน์อีกหรือไม่ ส่งผลให้สินทรัพย์เสี่ยงเป็นลบ โดยราคาน้ำมันฟิวเจอร์สปรับตัวลง 2% ขณะที่ราคาทองคำปรับตัวขึ้น 0.5% และ ยังมีความกังวลปัจจัยในประเทศที่มีรายงานข่าวว่ารัฐบาลอาจกลับไปล็อกดาวน์หากพบคนติดเชื้อโอมิครอนแม้เพียงคนเดียว อีกทั้งตลาดยังรับแรงกดดันจาก MSCI Rebalance รวมทั้งให้ติดตามตัวเลข จ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน พ.ย.ในวันศุกร์นี้ และติดตามการประชุมกลุ่มโอเปกพลัสในวันที่ 2 ธ.ค.ด้วย

นายธีรเศรษฐ์ พรหมพงษ์ นักกลยุทธ์เศรษฐศาสตร์มหภาค บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) มองว่าหลังจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้โควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) จัดอยู่ในกลุ่มที่น่ากังวล หรือ (Variants of Concern : VOC) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีความสามารถในการแพร่เชื้อได้สูงขึ้น ติดเชื้อแล้วอาการรุนแรงมากขึ้น และมีความเป็นไปได้ที่การตรวจวินิจฉัยการป้องกันดัวยวัคซีน และการรักษาอาจมีประสิทธิภาพลดลง ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงใหม่ที่เข้ามาแบบกะทันหันและเหนือความคาดหมายของตลาด ส่งผลให้ตลาดสินทรัพย์เสี่ยง สินค้าโภคภัณฑ์ปรับฐานแรง ล่าสุด พบผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นสายพันธุ์โอมิครอนแล้วกระจายไปในหลายประเทศ

สำหรับ ความเสี่ยงการแพร่ระบาดที่เริ่มลุกลามมากขึ้น ส่งผลให้แนวโน้มเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศหลังการเริ่มเปิดประเทศทั่วโลกอาจต้องสะดุด และมีการกลับมาใช้มาตรการล็อกดาวน์รอบใหม่ ซึ่งหากพิจารณากลุ่มประเทศที่เริ่มพบการแพร่ระบาด จะเห็นว่าหลายประเทศถือเป็นลูกค้าหลักของภาคการท่องเที่ยวไทยในช่วงการเปิดประเทศรอบนี้ ขณะเดียวกันกิจกรรมการค้าระหว่างประเทศที่ไทยอยู่ในช่วงเริ่มต้นทำตลาดใหม่ในทวีปแอฟริกาอาจได้รับผลกระทบเช่นกัน อย่างไรก็ตาม บริษัทผู้พัฒนาวัคซีนก็อยู่ในขั้นตอนการทดสอบ/ทดลองประสิทธิภาพของวัคซีนถึงผลการต้านทานไวรัสสายพันธุ์ดังกล่าว ขณะนี้ Moderna กำลังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบวัคซีนกระตุ้นว่ามีประสิทธิภาพต้านทานมากเพียงใด ในขณะที่ AstraZeneca กำลังทำการวิจัยในประเทศ Botswana ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่พบสายพันธุ์โอมิครอน และ Pfizer คาดว่าจะใช้เวลาทดสอบประสิทธิภาพวัคซีนในอีก 2-3 สัปดาห์

นายคมศร ประกอบผล หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ เผยว่า หลังจากที่หลายประเทศเริ่มพบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) คาดการณ์ว่าสายพันธุ์นี้เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล และอาจมีความสามารถในการแพร่กระจายได้ดีกว่าสายพันธุ์ Delta อีกทั้งได้กลายเป็นสายพันธุ์หลักในหลายพื้นที่ในแอฟริกาแล้ว รวมทั้งอาจมีความสามารถในการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันจากวัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบันอีกด้วย ซึ่งช่วงที่ยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนว่าจะสามารถควบคุมหรือจัดการไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่นี้ได้อย่างไร คาดว่าแต่ละประเทศคงต้องใช้นโยบายเชิงป้องกันด้วยการจำกัดการเดินทางเข้าและออกประเทศอย่างเข้มงวด ส่วนผลกระทบด้านเศรษฐกิจนั้น ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะประเมินถึงความเสียหาย แต่เบื้องต้นได้คาดการณ์กรณีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ Omicron ไว้ 2 กรณีคือกรณีที่ไม่รุนแรง (Best Case Scenario) และกรณีที่สร้างผลกระทบรุนแรง (Worst Case Scenario)

โดยกรณีสร้างผลกระทบรุนแรงนั้น หาก Omicron มีความสามารถในการระบาดสูงกว่า Delta 2 เท่า และวัคซีนที่มีอยู่ไม่สามารถยับยั้งการระบาดของโรคได้ หากเป็นเช่นนี้ทั่วโลกอาจจะเจอกับการแพร่ระบาดรุนแรงเทียบเท่ากับเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ Alpha ในช่วงที่ยังไม่มีวัคซีน ดังนั้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือหลายประเทศอาจต้องกลับไปใช้มาตรการ Lockdown ที่เข้มงวดอีกครั้ง เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยจะพุ่งขึ้นเรื่อยๆ จนโรงพยาบาลรับไม่ไหว

และยิ่งไปกว่านั้นการ Lockdown รอบนี้รัฐบาลและธนาคารกลางของแต่ละประเทศเริ่มจะมีข้อจำกัดในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะปัจจุบันเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง อีกทั้งระบบห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) จะถูกกระทบจากผลของ Lockdown ทำให้เงินเฟ้อยังทรงตัวในระดับสูง แม้ความต้องการบริโภค (Demand) จะลดลง ทั้งนี้ หากเป็นไปคาดการณ์ว่า Omicron ระบาดอย่างรุนแรง ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้คาดการณ์ว่าตลาดหุ้นทั่วโลกมีโอกาสปรับลงจากปัจจุบันถึง 15-20% ในทางกลับกัน กรณีผลกระทบไม่รุนแรง (Best Case Scenario) โดยโควิด-19 สายพันธุ์ Omicron ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่กังวล ตลาดหุ้นอาจปรับขึ้น (Rebound) กลับไปในระดับก่อนมีข่าว หรือมีโอกาสปรับขึ้นประมาณ 2-3% เท่านั้น

ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าโอกาสที่หุ้นทั่วโลกจะปรับตัวลง (Downside) ยังมีมากกว่าโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้น (Upside) อย่างมาก ดังนั้น จึงประเมินว่าตลาดหุ้นที่ระดับปัจจุบันยังไม่สะท้อนความเสี่ยงจากประเด็นนี้อย่างเพียงพอ และน่าจะยังถูกกดดันต่อเนื่องในระหว่างที่กำลังรอความชัดเจน ซึ่งคาดว่าต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์

น.ส.ธีรดา ชาญยิ่งยงค์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) กล่าวว่าตลาดหุ้นไทยผันผวนในทางบวกหลังปรับตัวลง 2 วัน เกือบ 60 จุด ทำให้รีบาวนด์ขึ้นได้บ้าง ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียที่ฟื้นตัวหลังตอบรับไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอนไปแล้วระดับหนึ่ง ซึ่งยังต้องให้เวลาหาข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับไวรัสตัวนี้ แม้ขณะนี้จะมีผู้ที่ออกมาระบุว่าไม่รุนแรงมากนักและ ตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจจะไม่เร่งรีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลังจากที่พบไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอน อย่างไรก็ดี ต้องติดตามถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ซึ่งจะต้องจับตาท่าทีต่อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอน อย่างไรก็ตาม ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของจีนในเดือน พ.ย.ออกมาดีกว่าตลาดคาด

อย่างไรก็ดี ความกังวลเรื่องสายพันธุ์โอมิครอนทำให้หลายประเทศทั่วโลกเพิ่มการควบคุมพรมแดน เพราะเกรงว่าจะต้องกลับไปล็อกดาวน์เหมือนปีที่แล้วซึ่งสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก อย่างทางการฮ่องกงเพิ่มมาตรการจำกัดการเดินทางสำหรับผู้เดินทางจากหลายประเทศ แต่ผู้ที่เดินทางมาจากแองโกลา เอธิโอเปีย ไนจีเรีย และแซมเบีย จะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายนเป็นต้นไป

นอกจากนี้ ผู้ที่เคยเดินทางไปออสเตรีย ออสเตรเลีย เบลเยียม แคนาดา สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก เยอรมนี อิสราเอล และอิตาลี ในช่วง 21 วันที่ผ่านมา จะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม เพราะฮ่องกง ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการเงินระดับโลก ได้ออกมาตรการจำกัดการเดินทางสำหรับผู้ที่เดินทางมาจากแอฟริกาใต้ บอตสวานา เอสวาตินี เลโซโท โมซัมบิก นามิเบีย และซิมบับเว แล้ว

You may also like...